จากเส้นทางแห่งความยั่งยืนที่เอสซีจีดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พร้อมกับวิสัยทัศน์ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เอสซีจีมีความเชี่ยวชาญเข้ามาสร้างสรรค์งานทุกภาคส่วน ทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ผู้บริโภค สังคม และโลก ให้ขับเคลื่อนบนเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน
ความสำเร็จที่ผ่านมา สะท้อนผ่านแผนการดำเนินงานสู่อนาคต วัดได้จากทั้งตัวเลข รางวัล พันธมิตร รวมทั้งจากความมุ่งมั่นพัฒนาแนวคิด นวัตกรรม และโครงการเพื่อเดินทางสู่เป้าหมายปลายทางสู่ภารกิจร่วมกันของทั้งโลกที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
เราชวนคุณกลับมาย้อนมองถึงโครงการต่างๆ ของเอสซีจีในช่วงปีนี้ เพื่อเป็นบทเรียนและเตรียมการวางแผนสำหรับโครงการและนวัตกรรมข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง
ความสำเร็จด้านความยั่งยืนภายในองค์กร
หากพูดในเชิงสายงานธุรกิจแล้ว ผลประกอบการคือหนึ่งในมาตรวัดสำคัญที่บอกเล่าถึงความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับหัวเรื่องความยั่งยืนภายในองค์กรธุรกิจ ที่ย่อมต้องเดินหน้าไปพร้อมกับการสร้างสรรค์สินค้า บริการ โซลูชั่น และนวัตกรรมที่นอกจากจะต้องตอบความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังจะต้องส่งผลดีต่อผู้คนในสังคมวงกว้าง
โดยรายได้ในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ มีสัดส่วนของการพัฒนาสินค้าใหม่จากนวัตกรรมรักษ์โลกให้เข้าไปมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของผู้คน สังเกตได้จากสินค้าฉลาก SCG Green Choice ที่มียอดขายคิดเป็นร้อยละ 50 ของยอดขายรวม
ยกตัวอย่างสินค้าที่โดดเด่นในช่วงปีนี้ คือปูนงานโครงสร้างเอสซีจี สูตรไฮบริด (Hybrid Cement) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาด นับว่าเป็นทิศทางที่ดีสำหรับตลาดสินค้าสำหรับผู้คนที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในยุคนี้ หรือนวัตกรรมการก่อสร้าง ภายใต้ CPAC Green Solution ที่นำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีมายกระดับโซลูชั่นในงานก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อทุกภาคส่วน
สำหรับปี 2565 เริ่มต้นด้วยนโยบายในการเร่ง ESG หรือ แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นหนึ่งในหลักสำคัญของกลยุทธ์องค์กร ซึ่งส่วนงานของ ESG จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันธุรกิจ ที่ให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาทักษะ สร้างอาชีพให้ชุมชน เพื่อการเติบโตขององค์รวมระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยได้จัดทำเป็นแนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่ “มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ” เพื่อปรับใช้ในการดำเนินงานขององค์กร
นอกจากนี้ ในช่วงกลางปี ทางเอสซีจีเป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งใหญ่ระดับนานาชาติในชื่อ ESG Symposium 2022 โดยความร่วมมือจาก 315 พันธมิตร โดยที่ประชุมมุ่งเน้นการขยายข้อสรุปจากการระดมสมองสู่ภาคปฏิบัติ ทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำ เพื่อมุ่งสู่การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ และปลายทางที่ Net Zero ในที่สุด
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ในช่วงปีที่ผ่านมา ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม และแนวนโยบายสู่การสร้างสภาวะที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของเอสซีจี ได้แสดงให้เห็นประจักษ์ชัดทั้งในแง่ของวิธีการทำงาน และผลการดำเนินงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในมุมกว้าง รางวัลเหล่านี้ที่ได้รับจึงเป็นเครื่องยืนยันความต้องการอย่างแรงกล้าที่เอสซีจีต้องการเดินทางต่อเพื่อปลายทางที่โลกที่ดีสำหรับทุกคน
โดยเอสซีจีคว้ารางวัลธุรกิจยั่งยืนอันดับ 1 ของโลก ในกลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง จาก DJSI หรือ Dow Jones Sustainability Index ซึ่งเป็นดัชนีคัดเลือกหุ้นยั่งยืนระดับโลกโดย S&P Dow Jones ด้วยคะแนนสูงสุดด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเป็นองค์กรแรกในอาเซียนที่เป็นสมาชิก DJSI มาตั้งแต่ปี 2547 จวบจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ เอสซีจียังได้รับรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในระดับ ‘โดดเด่น’ ประจำปี 2565 โดยองค์กรบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำหรับองค์กรธุรกิจที่มีการบริหารจัดการด้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จากแนวปฏิบัติ ESG 4 Plus มาสู่การจัดทำการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Transition) อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต หรือการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการผลิตพลังงานทดแทน รวมทั้งการเป็นภาคธุรกิจเอกชนรายแรกๆ ในประเทศไทยที่จัดทำฉลากรับรองสินค้า SCG Green Choice ที่ช่วยเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการรักษาสิ่งแวดล้อม
ความสำเร็จกับองค์กรพันธมิตร
ความร่วมมือร่วมใจ เป็นอีกหลักการสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนดำเนินการจนกระทั่งประสบความสำเร็จ สร้างผลกระทบในทางที่ดีให้กับโลกและเพื่อนมนุษย์ทุกคน
ในปีนี้ เอสซีจีได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (TCA) และ Global Cement and Concrete Association (GCCA) ในการจัดทำ ‘Thailand Chapter : Net Zero Cement & Concrete Roadmap’ เป้าหมายเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ พร้อมกับขับเคลื่อนให้ไปในทิศทางเดียวกันระดับโลก พร้อมกันกับให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และพร้อมจะนำ Thailand Chapter นี้เข้าสู่วาระการประชุม COP27 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่ประเทศอียิปต์
เอสซีจียังเป็นหนึ่งในพันธมิตร ผู้ร่วมการจัดตั้ง CCUS Consortium หรือกลุ่มความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร่วมกับองค์กรพันธมิตร 5 อุตสาหกรรมหลัก และพันธมิตรภาคการศึกษา นั่นคือศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรมเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากพันธมิตรในภาคธุรกิจแล้ว เอสซีจียังดำเนินการโครงการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ความร่วมมือกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในการระดมความเห็นเพื่อจัดทำแผนที่นำทางนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับกับการหารือกลไกเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ปลายทางของประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero ทั้งประเทศ
นวัตกรรมและกระบวนการทำงานเพื่อพาประเทศไทย และโลกของเรา ไปสู่ปลายทางที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่น และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่พลังเล็กๆ จากมือของทุกคน ที่จะรวมกันเป็นพลังยิ่งใหญ่ที่จะพาความตั้งใจไปสู่เป้าหมายร่วมกัน