Day: April 26, 2022

11 posts

Онлайн-казино – это способ играть в онлайн-игры онлайн-казино в повышенном комфорте у себя дома. Они предлагают множество горячих видеоигр и часто публикуют лучшие бонусы и запускают рекламу .Наилучшие игровые-автоматы ждут гостей в портале Admiral novomatic казино , здесь присутствует великое количество скидок на депозит да добавочные одобрения из-за вступление во клоб. по сравнению с обычными игорными домами. Read more Что вам нужно Тип игры в Admiral novomatic казино онлайн-казино В Интернете

จาก Climate Change สู่ Net Zero

เหตุการณ์สำคัญของโลกครั้งหนึ่ง เพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือการประชุม Conference Of The Parties ครั้งที่ 21 หรือ COP21 ในปี 2015 ที่ประเทศฝรั่งเศส ครั้งนั้นทำให้เกิด ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ลงนามโดยผู้นำโลกใน 197 ประเทศ เป็นสัญญาณเริ่มความพยายามครั้งใหญ่ของมนุษยชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายที่ท้าทายคือ จำกัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยพยายามจำกัดให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เพราะหากเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่ 2 องศาเซลเซียสนั้น อุณหภูมิที่ต่ำกว่าย่อมมีความปลอดภัยกว่ามาก

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel On Climate Change หรือ IPCC) ได้ประเมินหากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ยังคงส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แนวปะการังฟอกสี เกิดการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุรุนแรง และมีโอกาสทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather)

ตัวการสำคัญได้แก่ Green House Gas (GHG) หรือ ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นคำที่ผู้คนบนโลกรับรู้มากว่า 3 ทศวรรษ โดยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ขนานใหญ่ และจะยิ่งแย่มากขึ้น หากอุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง แม้จะมีมาตรการแก้ไขออกมาแล้วก็ตาม

Net Zero เป็นประเด็นใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก

ล่าสุดจากการประชุม COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา ทิศทางการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบนโลกในปัจจุบัน ยังเป็นตัวเลขในระดับ “บันทึกประวัติศาสตร์” แสดงให้เห็นว่ามาตรการความร่วมมือที่ผ่านมา อาจยังไม่ดีพอ ทำให้ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงมาตรการจากการมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงจากมาตรการแก้ปัญหา Climate Change สู่ทิศทาง “Net Zero” เพื่อเพิ่มความเข้มข้น ในการดูแลสภาพภูมิอากาศให้ไม่เลวร้ายไปกว่านี้ เพราะมีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมหลายคน ออกมาแสดงความคิดเห็นใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นทิศทางน่าตกใจว่า ตอนนี้โลกกำลังดำเนินไปสู่จุด “Point Of No Return – จุดที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกต่อไป”

แต่แน่นอนว่า การป้องกันปัญหาย่อมมีราคาที่ต้องจ่ายน้อยกว่ามูลค่าที่ต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และท่ามกลางวิกฤติย่อมมีโอกาสที่โลกจะเร่งปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ หันมาใช้พลังงานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ ย่อมหนีไม่พ้น ความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน

กิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคนี้ เพื่อทำให้การปล่อยคาร์บอนจากองค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์นับได้เท่ากับศูนย์ หรือที่เรียกว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)

ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Carbon Neutral และ “Net Zero” Emission คืออะไร ?

สองคำนี้คล้ายคลึงกัน เพราะเป็นการมุ่งแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนเช่นกัน แต่ Carbon Neutral ดูที่ “ผลลัพธ์” ในการเฉลี่ยการปลดปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศให้เท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่า หรือวิธีการอื่น ขณะที่ Net Zero Emission หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  มองสิ่งที่กว้างไปกว่านั้น คือมองในภาพรวมของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ดูที่กระบวนการ และการกระทำ การบาลานซ์ระหว่างปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก กับปริมาณการถูกกำจัดออกไปจากบรรยากาศโลก เน้นการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้งต้นน้ำปลายน้ำ จึงเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายกว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งในสภาวะนี้ก็จะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถบรรลุเป้า Net Zero Emissions ได้ ก็แปลว่าเราสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนเกิน ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนได้

ซึ่งหลังเวทีประชุม COP26 จบลง แต่ละประเทศได้มีการประกาศเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน รวมถึงประเทศไทยที่ประกาศว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้ในปี 2065 โดยแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นแบ่งได้เป็น 3  ประเด็นใหญ่ ๆ ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเร่งผลักดันการใช้พลังงานสะอาด

ทั้งนี้ แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีหมุดหมายสำคัญที่ได้ตั้งเอาไว้แล้ว แต่ส่วนสำคัญคือการลงมือทำของทุกภาคส่วนทั้งนโยบายจากภาครัฐที่เข้มงวด ความร่วมมือจากเอกชน และการตระหนักรู้ของประชาชนที่จะช่วยกันผลักดันเป้าหมายนี้

คนในสังคมสามารถตระหนักถึงปัญหา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคม Net Zero ได้อย่างไร

การดำเนินชีวิตของผู้คนบนโลกที่พึ่งพาปัจจัย 4 ล้วนเกี่ยงโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งผลต่อภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน ถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญของโลกมาทุกยุค โดยเฉพาะโลกยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งมีการขยายของเมืองและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างมาก

GDP มีส่วนสร้าง GHG

งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ก๊าซเรือนกระจกเชื่อมโยงกับ GDP (Gross Domestic Product) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นมูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการใช้ทรัพยากร ผูกโยงกับการผลิต เทคโนโลยี รวมไปถึงการกำจัดของเสียส่วนเกินหลังการผลิตหรือบริโภค

ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) แสดงให้เห็นว่า โลกเรามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี และแม้ว่าในปี 2020 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบรายปี เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก

แต่ข้อมูลล่าสุดของปี 2021 พบว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มกลับมาเกือบเท่ากับระดับของปี 2019แล้ว ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดี

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ลดลงในช่วงล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว แต่เป็นเพียงชั่วคราวและเพิ่มขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยการปล่อยมลพิษทั่วโลกต้องลดลงประมาณ 7% ต่อปีในทศวรรษนี้ เพื่อให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

รู้จัก LCA สู่ไอเดีย Net Zero

การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นกระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การนำมาใช้ใหม่หรือการแปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสะท้อนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตในสังคม เป็นการหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

บทบาทของภาคเอกชนมุ่งสู่เป้าหมายเอสซีจี Net Zero 2050

กิจกรรมทางธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ  จึงถือเป็นเรื่องที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากความระมัดระวัง เน้นแต่ผลประโยชน์ขององค์กร ย่อมทำให้ความสมดุลของโลกเปลี่ยนแปลงไป ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าองค์กรต่าง ๆ จึงมีแนวทางในการกำหนดและสนับสนุนทิศทางบนหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นในหลากหลายแง่มุม  ซึ่งความรับผิดชอบด้านการร่วมลดภาวะโลกร้อน ย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน

การพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เอสซีจี ในฐานะผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามหลัก ESG (Environment Social and Governance) อย่างเห็นได้ชัดและเป็นรูปธรรม เรียกกันว่าเป็นทิศทาง Sustainable Development Goals

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้มาของวัตถุดิบในการก่อสร้าง กระบวนการก่อสร้าง และการใช้พลังงานในช่วงอยู่อาศัย โดยมองเฉพาะอัตราส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการ พบว่า มากกว่าร้อยละ 90 มาจากวัสดุก่อสร้าง โดยวัสดุประกอบอาคารที่มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดคือ คอนกรีต เหล็ก ปูนซีเมนต์ กระเบื้องเซรามิค อิฐ อลูมิเนียม ไม้ ตามลำดับ อีกทั้งวัสดุเปลือกอาคารนั้นมีผลโดยตรงต่อการใช้พลังงานภายในอาคารอีกด้วย

ตัวอย่างการใช้โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ภายในพื้นที่โรงงานปูนซีเมนต์ไทย (เขาวง) จังหวัดสระบุรี

เอสซีจี จึงตั้งเป้าหมายเรื่อง Net Zero Emission ไว้ภายใน 2050 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศไทย เพราะการให้ความสำคัญกับเรื่องผลิตภัณฑ์ และวัสดุต่าง ๆ สำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้างถือเป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต่อการร่วมแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยธุรกิจอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ภาคการก่อสร้างสามารถช่วยได้ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะชะลอและจำกัดความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Mitigation) และในด้านการปรับตัวให้อยู่กับโลกที่ร้อนขึ้น (Adaptation)

ทิศทางการเติบโตของธุรกิจพัฒนาบ้านที่พักอาศัยและอาคารเพื่อประหยัดพลังงาน จากนี้จะมีแรงขับเคลื่อนหลักจากความต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐและเป้าหมายของบริษัทเอกชน ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะตอบสนองต่อเทรนด์ของโลก และความต้องการของลูกค้า ที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่การเป็น Net Zero ในที่สุด

เอสซีจี ดำเนินธุรกิจด้วยความใสใจต่อสิ่งแวดล้อมด้วยกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน มานับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท โดยมีโครงการต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2016 เอสซีจีได้ริเริ่มแนวคิด Circular Way หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ในชื่อ SCG Circular Way ซึ่งเป็นแนวทางธุรกิจที่เอสซีจีนำมาใช้ทั้งกับภายในองค์กรเอง และกับการทำงานกับคู่ค้า รวมถึงลูกค้าผู้บริโภคของเรา โดยเอสซีจี นับเป็นหน่วยงานเอกชนเจ้าแรกๆ ของเมืองไทยที่ขับเคลื่อนแนวทางนี้อย่างเป็นรูปธรรม

แนวทางของ SCG Circular Way เป็นแนวทางธุรกิจใหม่โดยการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่การผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการใช้ทรัพยากรต้นทางให้เกิดประโยชน์สูงสุด และหมุนเวียนของเสียทั้งรูปแบบวัตถุดิบและพลังงานกลับมาเป็นทรัพยากรในกระบวนการผลิตอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแนวทางธุรกิจนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ไขออกสู่ประตูแห่งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และขับเคลื่อนการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้ไปในแนวทางของการถนอมรักษาและลดการพึ่งพาทรัพยากร

การเดินทางของเอสซีจี สู่เส้นทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

จากภาคปฏิบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเอง นำมาซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และการมองเห็นปัญหาระหว่างทาง จนนำมาสู่การแก้ไขและป้องกันปัญหาในภาคปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

เส้นทางของ SCG Circular Way ผลิดอกออกผล ปลูกเป็นจิตสำนึกของคนภายในองค์กรเอง ผ่านกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างการคิดก่อนใช้ การแยกขยะ และการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นในมือของพวกเราทุกคน ร่วมประสานกลายเป็นพลังที่ใหญ่กว่า และขยายสู่ Roadmap ไปสู่ปลายทางที่ Net Zero 2050 อนาคตการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิต้องเป็นศูนย์

ขยายกระบวนการหมุนเวียนและยั่งยืน สู่เส้นทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

เศรษฐกิจหมุนเวียนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของรากฐานที่จะนำประเทศไทยและโลกก้าวไปสู่ปลายทางที่ทุกคนหวังไว้ ปลายทางที่การสร้างระบบนิเวศและความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และปลายทางที่อนาคตของโลกยังคงสวยงามสดใส ส่งต่อถึงรุ่นลูกหลานต่อไป

จากปี 2016 จนถึงภาพใหญ่ภาพใหม่ในปี 2022 เส้นทางสู่ Future is Zero ของเอสซีจี ในฐานะผู้ผลิตสินค้าและบริการเพื่อที่อยู่อาศัยและการ จึงประสานพลังของความตระหนักและสำนึกรักษ์โลก ผ่านทางแนวคิดและวิธีการตลอดสายพานการผลิต จนส่งต่อถึงการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อชวนคุณร่วมสร้างสรรค์และปกปักรักษาโลกใบนี้ไปด้วยกัน

เพราะเรื่องราวความรักโลกไม่ใช่กระแส แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องลงมือทำ เอสซีจีออกเดินทางบนเส้นทางสาย Circular Economy มาตั้งแต่ปี 2016 และครั้งนี้คือหมุดหมายสำคัญที่จะก้าวไปสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

ผลจากความสำเร็จที่ผ่านมาโดยตลอด นับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญสำหรับองค์กรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นจากภาคนโยบายที่ต้องการร่วมแก้ไขปัญหาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรตั้งแต่ภาคการผลิตถึงการบริโภค ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติจริงผ่านโครงการและมาตรการมากมายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน

เราชวนคุณมาพูดคุยกับหัวเรือใหญ่ของเอสซีจี คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ในบทบาทของภาคนโยบายองค์กร และ คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ถึงการสร้างพันธกิจของห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนผ่านนวัตกรรมและการปฏิบัติจริงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

จุดเดือดของประเด็นสิ่งแวดล้อม และการทำธุรกิจยั่งยืนของเอสซีจี

คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อตัวเราทุกคนและทุกภาคอุตสาหกรรม ในฐานะที่เอสซีจีเป็นสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development องค์กรระดับโลกที่ทำงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะกับประเด็น Climate Emergency หรือความเร่งด่วนด้านสภาพภูมิอากาศ

ดังนั้น การเริ่มต้นขยับก่อน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานมากอย่างอุตสาหกรรมก่อสร้าง

คุณรุ่งโรจน์เริ่มต้นเกริ่นถึงอุตสาหกรรมก่อสร้าง “เอสซีจีเป็นผู้บุกเบิกการทำธุรกิจซีเมนต์ในประเทศไทยมามากกว่าร้อยปี ตลอดเวลาเรามีการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีความทันสมัย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ผลของปริมาณคาร์บอนจากกระบวนการผลิตและขนส่งของเรา ก็ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้น ”

หากแต่ภาคการผลิตของเอสซีจีเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ​ โจทย์จึงเป็นเรื่องการจะทำอย่างไรให้ดำเนินอุตสาหกรรมและธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน “ธุรกิจแรกของเราเลยคือปูน จากนั้นก็วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ กระดาษ ปิโตรเคมี ของพวกนี้มีส่วนช่วยให้บ้านเรามีการพัฒนา ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่นนั้นแล้ว ถ้าเราบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงนี้เราจะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 20% ภายในปี 2030 โดยที่กระบวนการผลิตยังดำเนินไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

ภาพบรรยากาศภายในโรงงานปูนซีเมนต์ไทย (เขาวง) จังหวัดสระบุรี กับการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“องค์กรของเราตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า เราต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ หมายถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องมีส่วนเข้าไปช่วยเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราต้องทำมากกว่าการทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบ แต่ต้องเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม เพราะเราเป็นพลเมืองโลก เป็นธุรกิจโลก นี่เป็นจุดประสงค์ของบริษัทตั้งแต่ก่อตั้งเลยว่า เราต้องทำเรื่องเหล่านี้”

เมื่อขับเคลื่อนภาคนโยบายจนแปลมาถึงแนวทางภาคปฏิบัติภายในองค์กรได้แล้ว สิ่งที่ท้าทายที่สุดต่อการผลักดันสังคมคาร์บอนต่ำในภาคธุรกิจของคุณรุ่งโรจน์คือ การหาแนวร่วมที่มองเห็นความสำคัญของเป้าหมายปลายทางเดียวกันที่ความยั่งยืน และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

“เราต้องมาคุยกันให้เห็นว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน หลายเรื่องต้องหาจุดสมดุลร่วมกันระหว่างเรากับคู่ค้า ซึ่งเป็นองค์ความรู้ เพื่อให้เห็นทิศทางที่สำคัญและทำร่วมกัน ทุกวันนี้ผมเองให้เวลากับเรื่องนี้ครึ่งหนึ่งของการทำงานทั้งหมดไปแล้ว” คุณรุ่งโรจน์ทิ้งท้าย

อุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ​ ทั้งแง่การดำเนินธุรกิจและสิ่งแวดล้อม 

จากเป้าหมายระยะยาวที่ปี 2050 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ชวนมองเป้าหมายระยะสั้นที่ปี 2030 ลดก๊าซเรือนกระจก 20% เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติที่เห็นผลจริง และเป็นบันไดขั้นต่อไปในการเดินทางสู่ปลายทางร่วมกัน

คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี

“เราเป็นผู้ผลิตซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง การจะลดส่วนนี้ได้มีหลายแนวทาง และแน่นอนว่าเรื่องพลังงานเป็นลำดับแรก”

การใช้พลังงานทดแทนอย่าง Biomass ที่มาจากของเหลือทางการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อทดแทนการใช้พลังงานถ่านหิน
จากของเหลือจากภาคการเกษตร นำมาย่อยและบดอัดในความหนาแน่นที่เหมาะสม เพื่อการใช้งานพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

“จากเดิมที่เคยใช้ถ่านหินเป็นพลังงานหลัก หลายปีที่ผ่านมาเราเริ่มลดการใช้ถ่านหินลงได้ประมาณ 35% แล้ว เราก็จะลดให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ ด้วยพลังงานทดแทน หรือเชื้อเพลิงทางเลือก ตอนนี้เรามีการนำ Biomass หลายตัวมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ ใบไม้แห้ง ของเหลือจากภาคการเกษตร และซังข้าว นำมาแปรรูปเพื่อการขนส่งทำได้สะดวกขึ้น และ RDF แปลงขยะเป็นพลังงาน ซึ่งสิ่งสำคัญคือ เทคโนโลยีที่ทำให้การใช้งานพลังงานทดแทนแล้ว คุณภาพของสินค้ายังไม่เปลี่ยนเพราะบางครั้งในกระบวนการผลิตต้องการความร้อนสูง จึงต้องปรับสภาพสิ่งเหล่านี้ก่อนแล้วก็ปรับเตา ปรับเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อให้รับของเหล่านี้ได้”

“อันที่สองก็คือพลังงานทดแทนการใช้ไฟฟ้าทั้งสามแบบ โซลาร์ติดตั้งบนหลังคา โซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์ลอยน้ำ ซึ่งเราใช้งานโซลาร์เป็นหลักมายาวนานหลายปี และก็ยังมีโอกาสอื่นอีก อย่างพลังงานลมซึ่งเรากำลังศึกษาอยู่ หรือพลังงานโซลาร์ที่ต้องเอาพื้นที่ที่ห่างไกลโรงงาน ซึ่งต้องมีการพูดคุยกับภาครัฐถึงความเป็นไปได้ สิ่งเหล่านี้ต้องบอกว่าที่เราทำได้เองก็ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เราต้องร่วมมือกับผู้อื่นก็ดำเนินการควบคู่กันไป”

ตัวอย่างการใช้พลังงานจาก Solar Farm ในพื้นที่โรงงานปูนซีเมนต์ไทยแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีแผนจะมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ประเด็นการพาประเทศไทยไปสู่ระบบนิเวศที่เป็นกรีน หรือ Green Transition ย่อมต้องใช้เวลายาวนาน และการร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งถือเป็นนโยบายระดับประเทศที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ไปได้ไกลและดีกว่าเดิม

“กระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นกรีน ไม่ได้เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายอย่างเดียว จำเป็นจะต้องมี Roadmap พร้อมกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน มีกลไกของการทำให้เกิดความกรีนขึ้นภายในประเทศ เช่น คาร์บอนเครดิต หรือแรงจูงใจต่างๆ ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือทางรัฐบาลจะให้สำหรับคนที่ทำธุรกิจกรีน”

ในส่วนของเอสซีจีเอง ก็มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน “งานนี้จะเรียกเราว่าเป็น Leading Founder เลยก็ได้” คุณนิธิ แนะนำให้เรารู้จักกับเครือข่าย CECI

23 องค์กรเอกชนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ภายใต้กลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้างหรือ CECI

“CECI (Circular Economy in Construction Industry) อันนี้เราทำมานับแล้วก็ประมาณสี่ปีแล้ว เกิดจากการรวมตัวองค์กรใหญ่ประมาณ 20 องค์กรก่อสร้างเข้ามาร่วมมือกัน แลกประสบการณ์ Best Practice ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างมีประสบการณ์เทคโนโลยีหรือวิธีการที่ดีในการใช้วัสดุให้มีประโยชน์สูงสุด การลดการใช้วัสดุ การทำการก่อสร้างที่นอกจากรักษ์โลกแล้วยังลดมลพิษด้วย”

“ความร่วมมือเกิดขึ้นในหลายโครงการ อย่างการ Upcycling และการลดการใช้งานวัสดุ เช่น หัวเสาเข็มที่เคยต้องขนไปทิ้งไกลๆที่ทั้งเปลืองพลังงาน ต้องทิ้งของไป เราก็เอาเทคโนโลยีที่สามารถจะบดหัวเสาเข็มพวกนี้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่ต้องขนไปทิ้ง ก็เป็นการประหยัดวัสดุด้วย เช่น ทำเป็นพื้นที่ทางเท้า หรือเป็นอิฐและวัสดุก่อสร้างขึ้นมาได้”

เพิ่มมูลค่าให้กับหญ้าฟางทางการเกษตรให้กลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงชั้นดีในกระบวนการผลิต

ในประเทศเอง ยังมีการรวมตัวของสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย TCMA (Thai Cement Manufacturers Association) “เราได้มีการรวมตัวกันทำมาตรฐาน Low-carbon Cement เพื่อนำไปพูดคุยต่อกับทางภาครัฐ และร่วมกันสนับสนุน เพราะฉะนั้นในอุตสาหกรรมเราเนี่ยก็ต้องสร้างความร่วมมือไม่ใช่เฉพาะฝั่งที่เป็นผู้ใช้ แต่ผู้ผลิตก็ต้องร่วมมือกัน อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เราร่วมมือกันมาและได้รับการตอบรับจากภาครัฐที่ดีและรวดเร็วมาก นี่เป็นอีกสิ่งที่ผมเห็นว่าเรามีความหวังว่าประเทศเราเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ จากการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วจากภาครัฐบาลซึ่งอันนี้ก็ถือว่าน่ายินดีครับ”

และการรวมตัวในระดับนานาชาติ “เอสซีจีร่วมกับองค์กรระดับโลกอย่าง GCCA (Global Cement and Concrete Association) ช่วยกันหาเทคโนโลยี แชร์ประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติเพื่อจะเอาสิ่งที่ดีจากทั่วโลกเข้ามาปรับปรุงอุตสาหกรรมเรา ซึ่งจะเห็นได้ว่า การดำเนินการเหล่านี้ หากเราทำคนเดียวก็ทำได้ระดับหนึ่ง ถ้าเราชวนองค์กรอื่นทั้งผู้ใช้และผู้ผลิตแล้วก็เป็นทั้งระดับโลกมา มันก็จะทำได้ในอีกระดับหนึ่ง เพราะมันจะมีเรื่องของความพร้อมทั้งในด้านเทคโนโลยี เงินลงทุน และนวัตกรรม”

นวัตกรรมที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

Solar Floating ที่เปลี่ยนพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตภายในโรงงาน

“เราทำทั้งกับหน่วยงานภายในของเรา และภายนอกผ่านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับผู้บริโภค” คุณนิธิเล่า “เริ่มจากนำหลักการ 3R – Reduce ลดการใช้งาน, Reuse – ใช้ซ้ำ และ Recycle – นำของเก่ากับมาใช้ใหม่และได้ประโยชน์เท่าเดิมมาใช้ในองค์กร และการดำเนินการอื่นๆ เช่น การปิดไฟที่ไม่จำเป็น การใช้เทคโนโลยีช่วยลดการใช้พลังงานภายในตึกลง 30% หรือการใช้นวัตกรรมที่สูงขึ้น อย่างระบบ IoT ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองได้ตามสภาพแวดล้อม”

รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice การันตีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดี “เช่นสินค้า Low-carbon Cement ปูนซีเมนต์ที่ปรับปรุงสูตรการผลิตผ่านการนำวัสดุอื่นมาทดแทนผสมบางส่วน โดยปูนซีเมนต์คุณภาพเท่าเดิม แต่สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง ซึ่งผู้บริโภคก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี จากนี้เรามีแผนในการเปลี่ยนเป็น Low-carbon Cement ทั้งหมด”

ฉลาก “SCG Green Choice” ฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดี

“อะไรที่ยิ่งใช้เวลายาวนาน เช่นการปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อมาใช้สินค้ากรีน และการขยายแนวทางการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง Value Chain เราต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด เพราะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะเปลี่ยนได้สำเร็จ” คุณนิธิทิ้งท้ายถึงความจำเป็นที่ทุกคนจะต้องตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในเรื่องสิ่งแวดล้อม

“แต่เราเข้าใจว่าการทำเหล่านี้ไม่ใช่ทำเรื่องเดียว ไม่ใช่มีแค่เป้า แต่มันต้องมีทุกเรื่องที่เป็นองค์ประกอบทั้งระบบนิเวศ กลไกต่าง ๆ ความรู้ความเข้าใจที่ต้องสร้างให้สังคมด้วย ซึ่งส่วนนี้ผมคิดว่าภาครัฐบาลที่มีหน้าที่ที่จะต้องสร้างความรู้ให้ประชาชนเข้าใจ มีหน้าที่ออกกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้เร็วขึ้น รวมทั้งภาคเอกชนเอง ก็ทำในสิ่งที่ตัวเองทำได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษาที่ต้องช่วยกันหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ทำให้สิ่งที่เราเคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยาก ให้กลายเป็นเรื่องง่าย และภาคสังคมที่จะต้องเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาด ทั้งเรื่องสินค้า Low-Carbon และการยอมรับในมุมมองการบริโภค”

นอกจากในกระบวนการผลิตเอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือชุมชน ที่จะช่วยกันร่วมสร้างระบบนิเวศของ Natural Climate Solutions หรือ แนวทางการลดสภาวะโลกร้อนและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “ซึ่งถ้าทำได้ก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าไม่ได้มีผลทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่มีผลทางด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตด้วย”

“เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การปลูกต้นไม้ที่สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลนหรือป่าบก เกิดเป็นระบบนิเวศที่ช่วยดูดซับคาร์บอน และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับสัตว์ป่าตามธรรมชาติได้ ทั้งหมดนี้เป็นวงจรที่เสริมกันทั้งหมด”

การจัดกิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Natural Climate Solution – NCS) เช่นการปลูกต้นไม้ ปลูกป่าชายเลนและหญ้าทะเล

“เพราะฉะนั้นการปลูกป่าแล้วก็การจัดการระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น มีทั้งป่ามีทั้งน้ำ แล้วชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากน้ำตรงนี้ได้ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่เพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งในแง่เศรษฐกิจ ทั้งในแง่คุณภาพชีวิตสำหรับการยังชีพ พร้อมกับเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งด้วย แล้วพอเกิดป่า เกิดน้ำ ก็เกิดอาชีพตามมาจากประโยชน์ของป่าเศรษฐกิจ ชาวบ้านก็จะได้รับประโยชน์โดยทั่วกัน”

เอสซีจีมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) ผ่านสินค้า บริการและโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่ประกอบด้วย E – Environment สิ่งแวดล้อม, S – Social สังคม และ G – Governance ธรรมาภิบาล จึงอยู่ในวงจรความยั่งยืนที่จะก้าวต่อไปร่วมกันด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันที่ความยั่งยืน “การลดความเหลื่อมล้ำก็เป็นจุดประสงค์หนึ่งของเรา แล้วพอชาวบ้านมีอาชีพ มีกินมีใช้ ก็จะนึกถึงสิ่งแวดล้อมต่อไป เพราะฉะนั้นเหล่านี้มันเสริมซึ่งกันและกันหมดนะครับ มันไม่สามารถที่จะอยู่โดดเดี่ยวได้”

“เรื่องนี้ไม่ใช่ภาระของรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่เป็นภาระของพวกเราที่อยู่ในปัจจุบันที่ต้องเริ่ม และก็ต้องทำให้เต็มที่เพื่อให้เป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกประสบความสำเร็จได้ เพราะเป็นเรื่องที่เร่งด่วนที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันทำทันที ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้ ทุกคนตระหนักถึงวิกฤตครั้งใหญ่ร่วมกัน รู้หน้าที่ของตัวเอง และลงมือทำอย่างรวดเร็ว ผมคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา นั่นคือเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ไม่ว่าจะ 2030 หรือ 2050 ก็จะสำเร็จได้อย่างดี”

X